ทัวร์ลังกาวี มาเลเซีย 2 วัน 1 คืน : ครั้งหนึ่งได้มาเยือน ณ ที่นี่ เกาะแห่งตำนาน ลังกาวี |
วันแรก |
อ.หาดใหญ่-ตำมะลัง – Geopark Langkawi – Cable Car –ย่านตลาดกัวฮ์ |
06.30 น. |
เจ้าหน้าที่ของบริษัทเที่ยวสนุกทัวร์ ให้การต้อนรับท่าน ณ จุดนัดพบ อ.หาดใหญ่ เพื่อเดินทางสู่ท่าเรือตำมะลัง จ.สตูล |
08.30 น. |
คณะเดินทางถึงท่าเรือตำมะลัง จ.สตูล ให้ท่านรับ อิสระอาหารเช้าที่ท่าเรือและให้ท่านมีเวลาในการแลกเงิน และเข้าห้องน้ำก่อนลงเรือ |
09.30 น. |
นำคณะเดินทางสู่หมู่เกาะแห่งมนต์ขลัง “เกาะลังกาวี” โดยเรือเฟอร์รี่ปรับอากาศ ระหว่างนั่งเรือทีมงานมี **บริการขนม+น้ำดื่ม พร้อมทั้งดูหนังที่ทางเรือเฟอร์รี่เปิดบริการ(ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชม.) |
10.30 น. |
เดินทางถึง เกาะลังกาวี ตรวจหนังสือเดินทาง จากนั้นนำท่านเยี่ยมชม เดินทางสู่เกาะ GEOPARK LANGKAWI นำท่านชม EAGLE FEEDDING โชว์การให้อาหารฝูงนกอินทรีย์ ที่บินโฉบเฉี่ยวอย่างน่าตื่นเต้น ซึ่งเป็นที่มาของสัญลักษณ์ประจำลังกาวีเดินทางสู่เกาะแวมไพน์ชมถ้ำค้างคาวและถ่ายภาพกับฝูงค้างคาวนานาชนิด กลางเกาะลังกาวี และชมโชว์การให้อาหารของปลานานชนิดอาทิเช่น ปลากระเบน ปลาเก๋ายักษ์ ปลาเสือ เป็นต้น |
เที่ยง |
บริการอาหารกลางวัน ณ ภัตตาคาร (1) |
บ่าย |
จากนั้นนำคณะเดินทางสู่ เคเบิ้ลคาร์ (Cable Car) ณ สถานีกระเช้าต้นทาง มีหมู่บ้าน Oriental Village ให้ท่านได้ถ่ายรูปตามมุมต่างๆ เช่น สะพานญี่ปุ่น มุมของที่ระลึก ท่านจะได้นั่งกระเช้าลอยฟ้าที่ทันสมัย ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 700 เมตร ชมทัศนียภาพบนยอดเขา Mat Clncang ภายในอ้อมกอดธรรมชาติที่เงียบสงบของเกาะลังกาวี และทัศนียภาพของเกาะตะรุเตาของฝั่งทะเลอ่าวไทย จากยอดเขาสูง รื่นรมย์ไปกับธรรมชาติ สายลม ท้องทะเลสีคราม จนได้เวลาที่เหมาะสมนำคณะเดินทางสู่ ย่านช้อปปิ้ง ย่านตลาดกัวฮ์ ให้ท่านได้เลือกสินค้าปลอดภาษีได้อย่างจุใจ อาทิ เหล้า บุหรี่ โรตี เครื่องสำอาง น้ำหอม ช้อคโกแลต เสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัวนานาชนิด ฯลฯ |
ค่ำ |
บริการอาหารค่ำ (2) ณ. ภัตตาคาร จากนั้น เช็คอินเข้าโรงแรม ให้ท่านอิสระพักผ่อนตามอัธยาศัยพัก |
พัก |
|
วันที่สอง |
ดาตารันลัง (พญานกอินทรีย์) – ท่าเทียบเรือตำมะลัง-อ.หาดใหญ่ |
06.00 น. |
บริการอาหารเช้า ณ โรงแรม(3) |
09.00 น. |
จากนั้นนำ คณะเดินทางสู่ ท่าเรือกัวฮ์ เพลิดเพลินกับบรรยากาศอันร่มรื่น พร้อมถ่ายภาพคู่กับ C ดาตารันลัง” พญานกเหยี่ยวสัญลักษณ์ของเกาะลังกาวีไว้เป็นที่ระลึก หรือจะเพลิดเพลินกับการซื้อสินค้าปลอดภาษี บริเวณท่าเรือกัวฮ์ ซึ่งมีสินค้ามากมายให้ท่านได้เลือกซื้อ |
11.45 น. |
(เวลาโดยประมาณ) จากนั้นนำท่านเดินทางกลับโดยเรือเฟอร์รี่ปรับอากาศ (VIP) พร้อมอุปกรณ์นิรภัย เช่นเสื้อชูชีพ |
12.50 น. |
(เวลาโดยประมาณ) ถึงท่าเทียบเรือตำมะลัง จากนั้น นำคณะเดินทางกลับ อ.หาดใหญ่ ทีมงานของบริษัทอำนวยความสะดวกให้แก่ทุกท่านในการจัดเก็บสัมภาระขึ้นรถ |
14.50 น. |
(เวลาโดยประมาณ) คณะเดินทางถึง อ.หาดใหญ่ โดยสวัสดิภาพ พร้อมทั้งรอยยิ้มและความประทับใจ |
หากท่านและคณะต้องการให้เราจัดทัวร์ลังกาวี 2 วัน 1 คืน ให้ โปรดติดต่อ เที่ยวสนุกทัวร์ โทร.085 384 0228 / 075 502 938 หรือ ดูโปรแกรมทัวร์ปัจจุบันได้ที่ www.ทัวร์เกาะลังกาวี.com |
บริการนำเที่ยวโดย เที่ยวสนุกทัวร์แอนด์แทรเวล ใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวเลขที่ 41/00335 ที่ตั้ง 10/114 ซ.กันตัง 20 ถ.จริงจิตร ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง 92000 |
ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในเกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย |
|
|
เกาะลังกาวี ประเทศมาเลเซีย
"เกาะลังกาวี" (Langkawi) ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน ใกล้ฝั่งทะเลตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย อยู่ในรัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย ตรงข้ามกับเกาะตะรุเตา ใกล้กับชายแดนไทย อยู่ห่างจากเมืองกัวลาเปอร์ลิส ประมาณ 30 กิโลเมตร และเมืองกัวลาเคดะห์ 51กิโลเมตรแต่เดิมเกาะลังกาวีเคยเป็นดินแดนของเมืองไทรบุรีที่ตั้งโดยชาวไทยที่เป็นสยามอิสลามอยู่กับอาณาจักรสยามมาตั้งแต่สมัย สุโขทัยจนถึงรัชกาลที่ 5 และได้เสียดินแดนส่วนนี้ให้กับประเทศอังกฤษในที่สุด
สำหรับเรื่องราวของ พระนางเลือดขาว หรือพระนางมัสสุหรี เป็นหญิงสาวชาวภูเก็ตที่อนุชาองค์สุลต่านแห่งลังกาวี ทรงเลือกเป็นคู่ครอง เนื่องจากพระนางเป็นหญิงสาวที่มีความเพียบพร้อม ทั้งงานบ้านงานเรือนและความสวยงาม ทั้งๆ ที่ทางราชวงศ์ได้คัดเลือกหญิงสาวชาวลังกาวีหลายคนให้พระอนุชาเลือก แต่ก็ไม่ถูกใจ กลับมาถูกใจสาวไทยชาวภูเก็ต
พระนางมัสสุหรี มาอยู่กับพระอนุชาของสุลต่านในฐานะพระชายาองค์รอง แต่ด้วยเหตุที่พระชายาองค์ใหญ่ ซึ่งมีฐานะเป็นปะไหมสุหรี มีบุตรเป็นหญิง ส่วนพระนางมัสสุหรี มีบุตรเป็นชายชื่อ "วันฮาเกม" ตามกฎของสำนักพระชายาที่มีบุตรเป็นชายจะได้รับตำแหน่งปะไหมสุหรี ทำให้ชาวลังกาวีที่เป็นพระญาติของปะไหมสุหรีองค์เดิมเก็บความอิจฉาไว้ลึกๆ
หลังจากนั้นไม่นาน ก็ได้เกิดสงคราม มีเหตุให้พระอนุชาขององค์สุลต่าน ซึ่งเป็นพระสวามีของพระนางมัสสุหรี ต้องเดินทางออกรบกับกองทัพไทยที่บุกมาโจมตี ดังนั้นจึงเป็นโอกาสของผู้ที่ปองร้ายคิดร้าย ต่างหาเรื่องสร้างสถานการณ์ว่า พระนางมัสสุหรีแอบคบชู้ ทำให้องค์สุลต่านตัดสินประหารชีวิตพระนางมัสสุหรีด้วยกริช โดยที่สวามีของนางไม่อาจกลับมาช่วยเหลือได้ทัน
ซึ่งก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ พระนางมัสสุหรีได้อธิษฐานว่า "หากนางไม่มีความผิด ขอให้โลหิตที่หลั่งออกมาเป็นสีขาวเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของนาง และขอให้เกาะลังกาวีไร้ความเจริญไป 7 ชั่วคน" แต่เมื่อเพชฌฆาตลงคมกริชประหาร คมกริซนั้นกลับไม่ระคายผิวนางเลย เมื่อเป็นเช่นนี้พระนางมัสสุหรีจึงบอกกับเพชฌฆาตให้กลับไปนำกริชพิเศษของต้นตระกูลจากบ้านของนางมา และเมื่อคมกริชจรดลงไปบนคอของนาง โลหิตสีขาวก็พวยพุ่งขึ้นข้างบนราวกับเป็นร่มโดยไม่ตกลงบนพื้นดินเลย องค์สุลต่านเองก็ช่วยชีวิตพระนางไม่ได้ เพราะพระนางมัสสุหรีเสียเลือดมากแล้วด้านพี่ชายของพระนางมัสสุหรีเกรงว่าหลานชายวัย 5 เดือน ทายาทคนเดียวของพระนางมัสสุหรีจะมีภัย จึงนำลงเรือล่องมายังเกาะภูเก็ต และเริ่มตั้งรกรากที่นี่ โดยโอรสของพระนางมัสสุหรีเติบโตขึ้นมีนามว่า "โต๊ะวัน" นับเป็นทายาทรุ่นที่ 1
สำหรับสุสานของนางมาซูรีนั้น มีสุสานที่สร้างด้วยหินอ่อน และคำจารึกภาษามาเลเซียและภาษาอังกฤษ ซึ่งจัดสร้างทำขึ้นภายหลัง มีข้อความว่า
MAHSURI BINTI PANDAK MAYAH
MAHSURI A VICTIM OF TREACHERY AND JEALOUSY WAS SENTENCED TO DEATH IN 1235 HIJRAH OR 1819 A.D. AS SHE DIED SHE LAID A CURSE ON THE ISLAND "THERE SHALL BE NO PEACE AND PROSPERITY ON THIS ISLAND FOR A PEROID OF SEVEN GENERATIONS''
แปลความได้ว่า
มัสสุหรีผู้รับเคราะห์กรรมจากการทรยศหักหลัง และความอิจฉาริษยาจนถูกตัดสินให้นางถึงแก่ความตายลง เมื่อศักราช (อิสลาม) 1235 หรือ คริสต์ศักราช 1819 (พ.ศ. 2362) นางสิ้นชีวิตลงพร้อมกับคำสาปแช่งที่แห่งนี้ว่า ''จะไม่เกิดสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองบนเกาะแห่งนี้ เป็นเวลา 7 ชั่วอายุคน''
และนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา "เกาะลังกาวี" ก็เงียบเหงา ผู้คนอยู่กันอย่างไม่มีความสุข เพราะมนตราแห่งการสาปแช่งของพระนางมัสสุหรี มาตั้งแต่ พ.ศ.2362 เป็นเวลา 181 ปี ตกอยู่ในอำนาจของคำสาปที่มืดดำเฉกเช่นชายหาดที่มีสีดำ นัยว่าเกาะแห่งนี้ถูกอำนาจแห่งความบริสุทธิ์นั้นสาปแช่งให้จมอยู่กับความตกต่ำ เป็นอาถรรพ์ครอบคลุมมาถึง 7 ชั่วอายุคน อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เกาะลังกาวีกำลังจะผ่านพ้นช่วงแห่งความมืดมิด เพราะได้ผ่านพ้นมาแล้ว 6 ชั่วอายุคน และก้าวเข้าสู่คนรุ่นที่ 7 ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นผู้มาแก้คำสาป เพื่อทำให้เกาะลังกาวีหลุดพ้นจากอำนาจลึกลับ
ทั้งนี้หนังสือพิมพ์หลายๆ สำนักของมาเลเซีย และรัฐบาลมาเลเซีย ต่างพากันออกตามหาผู้สืบทอดเชื้อสายของพระนางมัสสุหรี จนมาพบว่าทายาทรุ่นที่ 7 ได้อาศัยอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทยซึ่งก็คือ นางสาวศิรินทรา ยายี มีหลักฐานมากมายที่แสดงถึงความเป็นทายาทผู้ถอนคำสาป ไม่ว่าจะเป็นกริซประจำตระกูล รูปภาพ และบรรพบุรุษชื่อ "วันฮาเกม" ทางรัฐบาลจึงเชิญพระนางทายาทรุ่นที่ 7 กลับสู่เกาะลังกาวี เพื่อถอนคำสาป
|
รูปนี้ถ่ายตรงหน้าบ้านพักของครอบครับพระนางมัสสุหรี เป็นบ้านไม้ ที่ถูกการท่องเที่ยวของมาเลเซียบูรณะขึ้นใหม่แล้ว |
ตำนานของ พระนางมัสสุหรีนั้น แยกกันไม่ได้กับ เกาะลังกาวี แต่เรื่องราวของพระนางมัสสุหรีนั้น มีหลายเรื่อง ตามแต่ท่านใดจะนำเสนอในรูปแบบของใคร ที่มีต้นฉบับ และเรื่องราวที่สอดคร้องกัน และต่อไปนี้ก็เป็นอีกฉบับ ที่น่าสนใจครับ
เกาะลังกาวี เกาะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวมาเลย์ ว่ามีตำนานที่เล่าขานกันมา ถึงเจ้าหญิงชายารัชทายาท ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วนามว่ามัสสุหรี ซึ่งเป็นหญิงคนไทย ลูกหลานชาวภูเก็ต
พ่อกับแม่พระนางมัสสุหรี มีอาชีพค้าขายทางเรือระหว่าง ภูเก็ตกับเกาะปีนัง จนกระทั่ง วันหนึ่งได้ตั้งท้อง และซินแซ ได้ทำนายทายทักว่า เด็กในท้องจะเป็นผู้หญิง ที่มีบุญยาธิการสูง เป็นคนดีที่เคารพแก่คนทั่วไป
พ่อและแม่ของพระนางฯ เชื่อในคำทำนายของซินแซ ประกอบกับการค้าขายที่ผ่านมา ไม่สามารถสร้างความร่ำรวย เหมือนคนอื่นๆเขา สาเหตุเพราะไม่มีเรือสำเภาเป็นของตนเอง ต้องอาศัยเช่าเรือคนอื่น ทำให้มีผลกำไรน้อยจนไม่สามารถทำให้ร่ำรวยขึ้นมาได้ อีกทั้งเด็กหญิงมัสสุหรีที่เกิดมา ก็น่ารักน่าชัง พ่อและแม่ของพระนางมัสสุหรี จึงขายข้าวของทั้งบ้าน และที่ดินจนหมด เพื่อลงทุนซื้อเรือ และสินค้าไปขายที่เกาะปีนัง
แต่ที่สุด ขณะที่พระนางมัสสุหรี อายุได้ 7 ขวบ ระหว่างเดินเรือกลางทะเล เกิดพายุใหญ่ขึ้น ด้วยความเป็นห่วงลูก พ่อและแม่ได้เข้ามาโอบกอดกลัวลูกตกทะเล ทำให้ทิ้งการควบคุมใบเรือและหางเสือ ทำให้เรือล่มกลางทะเล ทุกคนตกลงสู่ทะเล ด้วยความห่วงลูก จึงอธิฐานว่า หากเด็กคนนี้มีบุญยาธิการจริงก็ขอให้รอดพ้นจากการจมน้ำเถิด ทั้งสามแม่ลูกจึงรอดชีวิตอย่างปฏิหารย์ ไปติดที่เกาะแห่งหนึ่ง เกาะนั้นคือ ลังกาวี ที่แปลว่า นกอินทรีย์สีน้ำตาล
บนเกาะลังกาวีนั้น มีคนมาเลย์พื้นเมืองเดิม มีสุรต่านปกครองชาวประชาเหมือนรัฐอื่นๆในแถบคาบสมุทรมาลายู สามพ่อแม่ลูกจึงเดินทางเข้าไปก็ไม่ได้รับการต้อนรับจากชนพื้นเมืองนัก จึงเดินทางไปยังใจกลางเกาะซึ่งเป็นป่ารกทึบ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเรือนใกล้สุสานของพระนางมัสสุหรี) พ่อของพระนางฯจึงได้ตัดเอาไม้บริเวณสร้างกระท่อมเล็กๆ เพื่ออยู่อาศัย
จนกระทั้งเกิดวิกฤติ ภัยแล้งอย่างหนัก ทั่วทั้งเกาะ ไม่มีน้ำแม้แต่หยดเดียวบนเกาะแห่งนี้ ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว บ้างก็อพยพหนีไปที่อื่น เทือกสวนไร่นา สัตว์เลี้ยง เสียหายหมด ด้วยความเป็นเด็กฉลาด และได้ยินพ่อแม่เล่าให้ฟังอยู่เสมอว่า ตนเองเป็นเด็กที่มีบุญยาธิการ เด็กหญิงมัสสุรี จึงยกมือสองมือระดับหน้าอก ลักษณะเหนียดหรืออธิฐานจากพระเจ้า(ขอพรแบบอิสลาม) ว่า ?ได้โปรดเถิดพระเจ้า หากข้าพเจ้ามีบุญยาธิการจริงขอพระเจ้าได้ประธานแหล่งน้ำให้ข้าพเจ้าด้วย เถิด? ระหว่างอธิฐานก็ไปสะกิดก้อนกรวดหิน ทำให้พบตาน้ำไหลออกมา จึงรีบไปบอกพ่อและแม่ พ่อจึงลงมือขุดเป็นบ่อน้ำ และ เด็กหญิงมัสสุหรี ขอให้พ่อไปแจ้งให้ชาวบ้านทราบและ กล่าว่าทุกคนในเกาะนี้ สามารถมาตักน้ำไปดื่มกินได้เลย
จนกระทั้งเกิดวิกฤติ ภัยแล้งอย่างหนัก ทั่วทั้งเกาะ ไม่มีน้ำแม้แต่หยดเดียวบนเกาะแห่งนี้ ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว บ้างก็อพยพหนีไปที่อื่น เทือกสวนไร่นา สัตว์เลี้ยง เสียหายหมด ด้วยความเป็นเด็กฉลาด และได้ยินพ่อแม่เล่าให้ฟังอยู่เสมอว่า ตนเองเป็นเด็กที่มีบุญยาธิการ เด็กหญิงมัสสุรี จึงยกมือสองมือระดับหน้าอก ลักษณะเหนียดหรืออธิฐานจากพระเจ้า(ขอพรแบบอิสลาม) ว่า ?ได้โปรดเถิดพระเจ้า หากข้าพเจ้ามีบุญยาธิการจริงขอพระเจ้าได้ประธานแหล่งน้ำให้ข้าพเจ้าด้วย เถิด? ระหว่างอธิฐานก็ไปสะกิดก้อนกรวดหิน ทำให้พบตาน้ำไหลออกมา จึงรีบไปบอกพ่อและแม่ พ่อจึงลงมือขุดเป็นบ่อน้ำ และ เด็กหญิงมัสสุหรี ขอให้พ่อไปแจ้งให้ชาวบ้านทราบและ กล่าว่าทุกคนในเกาะนี้ สามารถมาตักน้ำไปดื่มกินได้เลย
พระนางมัสสุรีนั้น เป็นเด็กที่ขยัน เด็กที่ดีของพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้านงานเรือน ซื่อสัตย์ เชื่อฟังพ่อแม่ และที่สำคัญไม่เคยพูดโกหก ทุกวันเมื่อพ่อแม่กลับมาถึงบ้าน มัสสุรีจะถือขันน้ำสำหรับพ่อ และแม่ดื่มเพื่อแก้กระหายในมือข้างขวา ส่วนมือข้างซ้ายมัสสุรีจะถือไม้เรียว สำหรับค่อยรายงานว่าตนเองทำผิดอะไร หรือพ่อจะลงโทษหากพ่อไปได้ยินใครเขาฟ้องอะไรพ่อ ซึ่งเป็นที่ร่ำลือของชาวบ้าน ยามใดที่มีคนยาก หรือขอทานผ่านมา มักจะชวนเข้าบ้าน พูดคุยด้วยโอภาปราสัย ให้ทาน เป็นน้ำ ข้าวปลาอาหารสม่ำเสมอ จนกระทั่งโตเป็นสาว ก็มีรูปสวย งามที่สุดบนเกาะลังกาวี
จนในที่สุดความงามและความมีน้ำใจของหญิงไทยผู้นี้ ดังกระฉ่อนไปถึงหูของ"วันดารุส"โอรสของสุรต่านผู้ซึ่งปกครองเกาะลังกาวีแห่ง นี้ ด้วยความสนพระทัย วันดารุสจึงปลอมตัวเป็นขอทาน มาขอข้าวขอน้ำที่หน้าบ้านของพระนางมัสสุรี ก็เช่น พระนางฯก็ต้อนรับขับสู้ เอาน้ำ เอาข้าวปลามาให้สุรต่านในคราบขอทาน จึงเป็นที่พอพระทัยอย่างยิ่ง วันดารุสทำอย่างนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า จนทั้งสองเกิดความรักซึ่งกันและกัน โดยที่ พระนางมัสสุรี ไม่ล่วงรู้เลยว่า ผู้ชายที่ตนกำลังหลงรักอยู่นั้นคือ รัชทายาทผู้ปกครองเกาะลังกาวี
วันดารุสตัดสินใจบอกกับพระมารดา ว่า พบหญิงที่รัก หญิงที่ชอบ และคิดว่าเหมาะสมกับตนแล้ว อยากแต่งงานมีครอบครัวเสียที ขอวอนให้พระมารดาช่วยไปสู่ขอ พระมารดาดีใจมาก เพราะอยากให้ลูกเป็นฝั่งเป็นฝาเสียทีและพระมารดาได้ถามว่า "เธอคนนั้นเป็นลูกเต้าหรือเชื้อพระวงศ์ที่ไหน" วันดารุสเล่าความตามที่เตรียมไว้ และเมื่อพระมารดาทราบว่า เธอเป็นหญิงสาว ลูกชาวบ้าน แถมเป็นคนไทยที่อพยพมาจากภูเก็ต ไม่มีหัวนอนปลายเท้า พระมารดาก็ออกปากปฏิเสธทันที เพราะ เธอเป็นคนไทย หรือเพราะเหตุใด
ในที่สุดเจ้าชายวันดารุส จึงใช้วิธี ยื่นคำขาดกับพระมารดา โดยหากพระมารดาไม่ดำเนินการไปสู่ขอพระนางมัสสุรีตามความต้องการของตน (หลักศาสนาอิสลามผู้ปกครองต้องเป็นผู้สู่ขอให้) มิเช่นนั้น ตนจะปลิดชีพตนเอง
พระมารดาด้วยความรักลูก กลัวลูกชายจะฆ่าตัวตาย จึงยินยอมไปสู่ขอพระนางมัสสุรีแต่โดยดี แต่ในใจนั้น ผูกพยาบาทโกรธพระนางมัสสุหรียิ่งนัก จึงคิดหวังจะกำจัดพระนางฯเมื่อสบโอกาส
พิธีอภิเษกสมรสเกิดขึ้นท่ามกลางความชื่นชมของชาวเกาะลังกาวี เพราะมีว่าที่พระมเหสีที่สวย และมีน้ำใจ เป็นที่ที่รักของคนทั่วไป ยกเว้นพระมารดา ที่คอยกลั่นแกล้งเสมอ เมื่อวันดารุสไม่อยู่ในวัง ใช้ทำงานสารพัดเพื่อให้สาสมกลับที่แย่งความรักจากวันดารุสไปจากตน
จนกระทั่งพระนางมัสสุรีตั้งครรค์ และคลอดบุตรเป็นชาย วันดารุสดีใจมากที่มีราชทายาทกับพระนางมัสสุรี พร้อมตั้งชื่อว่า ?วันฮาเก็ม
วันฮาเก็มคลอดได้เพียง 3 วัน วันดารุสก็ต้องลาไปออกศึก เพราะขณะนั้นเกิดศึกสงครามจากการขยายอำนาจของสยาม เพราะเกาะลังกาวีส่วนหนึ่งของของไทรบุรีประเทศราชของสยาม วันดารุสจึงต้องจัดทัพไปออกศึกในครั้งนั้นด้วย
ก่อนไป ด้วยความความรักและห่วงใยภรรยาที่กำลังตั้งท้อง วันดารุสจึงได้มอบหมายให้องค์รักษ์คู่ใจ มีฝีมือ และเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็ก ให้มาช่วยรับใช้ พระนางมัสสุรี ระหว่างที่ตนไม่อยู่ โดยประกาศไว้ว่า หากใครกล้าแตะต้องพระนางมัสสุรีกับุตรชาย หรือขัดขวางการทำหน้าที่ขององครักษ์พระนางฯ ผู้นั้นมี โทษประหารสถานเดียว ไม่มีข้อยกเว้น แล้วจึงออกเรือเดินทัพไปร่วมศึกในครั้งนั้น ด้วยความเกลียดชัง และอิจฉาริษยาของพระมารดา ทันทีที่วันดารุส ออกเรือ พระมารดาจึงประกาศสั่งให้ข้าทาสบริวารในวังทั้งหมด หยุดทำงาน และสั่งให้พระนางมัสสุหรีทำแต่ผู้เดียวทั้งหมด
ทางด้านพระนางมัสสุหรี แทนที่จะต่อต้าน เพราะเป็นถึงพระมเหสี ด้วยความรักในสามี จึงยอมทำตามคำสั่งของพระมารดาแต่โดยดี แม้องครักษ์จะทัดทาน หรือขออาสาทำงานทุกอย่างแทน ด้วยใจหวังไว้ว่า สักวันความดีจะชนะใจแม่สามีได้
จนกระทั่งฝ่ายองครักษ์ทนดูไม่ได้ จึงก้มลงกราบแทบเท้าพระนาง จะไม่ยอมลุกขึ้น หากพระนางมัสสุรีไม่ยอมให้ช่วยทำงานแทน พระนางฯจึงยินยอมในที่สุด ฝ่ายพระมารดาโกรธมาก เมื่อทราบถึงการเข้าช่วยเหลือขององครักษ์ จึงเห็นต้องกำจักทั้งสองคน โดยได้สั่งให้บริวารไปเฝ้าดูเพื่อจับผิด และหาเรื่องใส่ร้ายพระนามมัสสุหรีให้จงได้
นกระทั่ง วันหนึ่งก็มาถึง พระนางมัสสุหรี เอาผ้าคลุมฮิญาบหรือผ้าคลุมศรีษะ ยื่นให้องครักษ์เช็ดหน้าเช็ดตา ในขณะที่กำลังตรากตรำทำงานหนัก และบริวารสายสืบของพระมารดาเห็นเข้า จึงนำเรื่องนี้ไปรายงานพระมารดา ซึ่งดีใจมาก พร้อมสั่งให้ทหารไปจับคนทั้งสองและป่าวประกาศไปทั่วเกาะ ว่า พระนามมัสสุรีมีชู้กับองครักษ์ ทำให้เสื่อมเสียงพระเกียรติแก่ราชวงศ์มีโทษประหารด้วยกริช ห้ามใครพูดเข้าข้างพระนางมัสสุรี มิเช่นนั้นจะประหารทันที ส่วนองครักษ์นั้นได้ถูกสั่งประหารด้วยการขุดหลุม แล้วให้ลงไปนอน เอาก้อนหินกระหน่ำปาลงไปจนตาย
พระนางมัสสุหรีถูกนำตัวมามัดไว้กับต้นไม้ต้นหนึ่ง เพชฌฆาตนั้นเมื่อเริ่มลงมือเอากริชแทงพระนางหลายครั้งด้วยน้ำตา แต่กริชไม่สามารถระคายผิว พระนางฯได้เลย พระนางฯจึงกล่าวว่า "กริชประจำตระกูลของพระนางฯเท่านั้นถึงจะฆ่าพระนางได้ และกริชนั่นก็อยู่ที่ บ้านพ่อแม่ของข้าเอง" พระมารดาได้ยินดังนั้นจึงสั่งให้เพชฌฆาตไปเอากริช ประจำตระกูลของพระนางฯ ตามที่พระนางฯบอก
ทางด้านพ่อและแม่ของพระนางฯ เมื่อมีคนของพระมารดาไปขอกริชประจำตระกูล ก็ให้แต่โดยดี ด้วยเพราะทราบดีว่า คงเป็นความประสงค์ของพระนางมัสสุรี ที่จะกู้ศักดิศรี และแสดงความบริสุทธิ์ แม้จะแลกด้วยชีวิตก็ตาม
ก่อนที่เพชฌฆาตจะลงมือประหาร พระนางมัสสุหรีจึงกล่าวดังไว้ว่า ฟ้าดินเป็นพยานข้านี้ถูกใส่ร้าย ข้ามิเคยคบชู้สู่ชายแต่อย่างใด หากข้าไม่ผิด ของให้โลหิตเป็นสีขาว และอย่าให้หิตข้าหลั่งลงพื้นดิน ฟ้าดินเป็นพยาน สิ้นคำกล่าวของพระนางฯ เพชฌฆาตก็ลงมือปักกริช ลงตรงคอ เสียงร้องของพระนางดังไปทั่วบริเวณ เลือดสีขาวพระนางฯพุ่งขึ้น เหมือนร่ม โดยไม่ตกลงพื้นแม้แต่หยดเดียว หันไปมองบุตรตัวน้อยวัยสามเดือน ที่ร้องเสียงดัง เหมือนรับรู้ความเจ็บปวดของแม่
ก่อนสิ้นใจพระนางฯได้อ้อนวอนขอกอดลูก และขอให้นมบุตรเป็นครั้งสุดท้ายต่อพระมารดาแม่ผัวผู้ใจดำ แต่พระมารดาฯไม่ยินยอม พระนางฯจึงสาปแช่งว่า ?หากนางเป็นผู้บริสุทธิ์ มันผู้ใดที่อยู่บนเกาะลังกาวีจงประสบทุกข์เข็ญนานตราบ 7 ชั่วอายุคน? และบอกพ่อกับแม่ของตนให้เอากล้วยน้ำหว้าป้อนลูกของตนแทนนม แล้วจึงสิ้นใจทาง ด้านวันดารุส ขณะอยู่กลางท้องทะเล ก็นิมิตเห็นภาพพระนางมัสสุหรี เหมือนมาลา จึงประกาศ ?หากใครทำอันตรายพระนางมัสสุหรี จะฆ่าตายให้หมด" พร้อมกับเดินทางกลับทันที
เมื่อมาถึงเกาะ สภาพเกาะเหมือนเกาะร้าง แทนที่จะมีเสียงประชาชนเข้ามาล้อม โฮ่ร้องต้อนรับ เหมือนวีรบุรุษ เช่นทุกครั้ง แต่กลับเงียบเชียบเหมือนเมืองร้าง ผู้คนไม่รู้หายไปไหนหมด เมื่อกลับไปที่วัง ร้องหาแม่นางมัสสุรีและลูกไม่พบ ก็ใจหาย จึงไปหาที่บ้านพ่อตาแม่ยาย เมื่อย่างก้าวเข้าบริเวณบ้าน ความรู้สึกเศร้าระงมไปทั่ว แต่ก็กลับดีใจ ที่ได้ยินร้องของเด็ก เมื่อขึ้นไปดู จึงเห็นแต่ลูก และทราบข่าวการตายของพระแม่นางมัสสุรี จากพ่อตาและแม่ยาย
วันดารุสเสียใจมาก เพราะคิดไม่ถึงว่า พระมารดาจะฆ่าและทำลายพระนางมัสสุหรี คนที่ตนรักได้อย่างโหดเหี้ยมได้ลงคอ พระองค์จึงตัดสินใจสละสิทธิ์รัชทายาทราชบันลังก์ แล้วหอบลูกและกริช กลับไปยังบ้านเกิดของพระนางมัสสุหรี คือภูเก็ต
ส่วนพระมารดาเมื่อสิ้นชีวิต พระศพก็ไม่สามารถฝั่งที่ใดได้เลย บนเกาะลังกาวี ฝังที่ใดทรายก็จะดันขึ้นมาเสมอ จนกระทั่ง ต้องไปกลับทำพิธีบนบานที่สุสานพระนางมัสสุหรี จึงสามารถนำพระศพไปฝั่งไว้ที่บริเวณหาดทราย และสีของหาดทรายกลายเป็นสีดำในทันที หลังจากที่ฝั่งเสร็จ
|
ก่อนเข้าชมสุสานพระนางมัสสุหรี ขอก่อนสักรูป ครับ |
เชื้อสายของพระนางมัสสุหรี แห่งเกาะลังกาวี
ต้น สกุล วัน ดารุส [WAN DARUS> ได้แต่งงานกับ มัสสุหรี คนไทยที่มีเชื้อสายคนไทยสมัยสุโขทัยที่เข้ามาตั้งเมืองไทรบุรี หรือ สยามอิสลาม ที่ชาวมลายูเรียกว่า "สามสาม" นางมัสสุหรีถูกฆ่าตายเมื่อ พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819) มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ วัน ดาเกม หรือ โต๊ะเกม ที่ถูกพามาอยู่ที่เมืองถลางหลังจากเกิดการฆ่าประหารกันบนเกาะลังกาวี
เชื้อสายรุ่นที่ 1
1. วัน ดาเกม (วัน อาเกม) หรือโต๊ะเกม (ชาย) อพยพมาอยู่ที่เมืองถลาง แต่งงานกับ อาลี ฉะ มีบุตร 6 คน (ชาย 2 หญิง 4 คน) คือ
1.1 โต๊ะเภา (ชาย)
1.2 นางสำหมี (หญิง) แต่งกับคนในตระกูลสาริยา
1.3 ไม่ทราบชื่อ (หญิง) แต่งกับคนในตระกูลยาหยี
1.4 ไม่ทราบชื่อ (หญิง)
1.5 ไม่ทราบชื่อ (หญิง)
1.6 ไม่ทราบชื่อ (ชาย)
ทายาท ที่สืบเชื้อสายจากบุตรชาย 2 คนนั้นถือเป็นสายตรงจาก วัน ดาเกมหรือโต๊ะเกม นั้นคือบุตรชาย 2 คนได้แก่ โต๊ะเภาและบุตรชายอีกคนหนึ่ง ไม่ทราบว่ายังใช้ "วัน" [WAN> เป็นชื่อสกุลอยู่หรือไม่
ทายาทที่สืบเชื้อสายจากบุตรหญิง 4 คนได้แต่งงานกับคนในตระกูลอื่น ถือเป็นสายสัมพันธ์ที่แยกสาขาครั้งแรกเป็น 4 ตระกูล ที่ปรากฎชื่อคือ สกุล ยาหยี สาริยา ต่อมามีลูกหลานออกไปสัมพันธ์กับสกุลอื่นอีกจึงมีสาขาแยกออกไปอีกได้แก่ ยัสสิน จำปาดะ อังศิริกุล เป็นต้น
เชื้อสายรุ่นที่ 2
2.1 โต๊ะเภา (วัน โต๊ะเภา)
2.2 นางสำหมี แต่งงานกับคนในตระกูล สาริยา มีบุตรคือ นางเสาดะ สาริยา
2.3 หญิง ไม่ทราบชื่อ แต่งงานกับคนในตระกูล ยาหยี มีบุตรชื่อ โต๊ะเหม ยาหยี
3.เชื้อสายรุ่นที่ 3
3.1 นางเสาดะ สาริยา ต่อมาแต่งงานกับคนในตระกูล จำปาดะ (นายตอเหยบ จำปาดะ)
(ติดต่อที่ 77/1 หมู่ 3 ต.กมลา อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต) มีบุตรชื่อนางมะสุหรี หรือ มสุรรี จำปาดะ
3.2 โต๊ะเหม ยาหยี มีบุตรชื่อ นายเฉลิม ยาหยี
เชื้อสายรุ่นที่ 4
4.1 นางมะสุหรี หรือ มสุรรี จำปาดะ แต่งงานกับคนในสกุล อังศิริกุล (ติดต่อที่ เนินตองรี
สอร์ท ต.ป่าตอง อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต)
4.2 นายเฉลิม ยาหยี
เชื้อสายรุ่นที่ 5
5.1 นายอิสเมล ยัสสิน [ISMAIL YASSIN>
5.2 นายเฉน ยาหยี มีบุตรชื่อ นายสุวรรณ ยาหยี (ติดต่อที่ 38/1 หมู่ 2 ต.กมลา อ.ถลาง จ.ภูเก็ต)
เชื้อสายรุ่นที่ 6
6.1 นายสุวรรณ ยาหยี แต่งงานกับนางสุณี มีบุตรชื่อ ด.ญ.ศิรินทรา (อาลีฉะ) ยาหยี
|
ศิรินทรา ยายี (เมย์)
ทายาทเจ้าหญิง รุ่นที่ 7 แห่งลังกาวี
ผู้ปลดเปลื่องคำสาป พระนางมัสสุหรี แห่งเกาะลังกาวี
เมื่อเกาะลังกาวี ตกอยู่ในต้องคำสาป ของนางมัสสุหรี หลังจากนั้น หนังสือพิมพ์หลายๆ สำนักของมาเลเซีย และรัฐบาลมาเลเซีย ต่างพากันออกตามหาผู้สืบทอดเชื้อสายของพระนางมัสสุหรี จนมาพบว่าทายาทรุ่นที่ 7 ได้อาศัยอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ประเทศไทยซึ่งก็คือ นางสาวศิรินทรา ยายี มีหลักฐานมากมายที่แสดงถึงความเป็นทายาทผู้ถอนคำสาป ไม่ว่าจะเป็นกริซประจำตระกูล รูปภาพ และบรรพบุรุษชื่อ "วันฮาเกม" ทางรัฐบาลจึงเชิญพระนางทายาทรุ่นที่ 7 กลับสู่เกาะลังกาวี เพื่อถอนคำสาป จากเด็กผู้หญิงธรรมดาคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตตามปกติ แต่เมื่อเธอได้ไปยืนอยู่บนแผ่นดินเกาะลังกาวี เธอกลับกลายเป็นเจ้าหญิงน้อยๆ ไปในทันที "ศิรินทรา ยายี" หรือ "เมย์" เกิดเมื่อวันที่ 8 เดือน 8 (สิงหาคม) พ.ศ. 2528 ที่โรงพยาบาลวชิระ จังหวัดภูเก็ต (น่าแปลกที่วันนั้นไม่มีเด็กคนไหนถือกำเนิดเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับเธอเลย แถมท้องฟ้าที่ใสกระจ่างกลับมืดดำ และฝนก็เทกระหน่ำลงมานานถึง 1 เดือน) ศิรินทรา ยายี เป็นบุตรสาวของนายสุวรรณ ยายี และนางสุนี ยายี มีน้องชาย 1 คน หลังจากนั้นทางมาเลเซีย ได้พบทายาท รุ่นที่ 7 ศิรินทรา ยายี ก็ได้ถูกเชิญ ไปร่วมพิธี แก้คำสาป
หลังการไปเยือนเกาะลังการวีของ ศิรินทรา ยายี เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว ทำให้เกาะต้องมนต์แห่งนี้ เจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว เพราะรัฐบาลมาเลเซียได้ใช้งบประมาณมหาศาลในการฟื้นคืนชีพเกาะลังกาวี ในความเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ทางประวัติศาสต
|
ทายาทรุ่นที่7 ของพระนางมัสสุหรี
ทายาทรุ่นที่ 7 ของพระนางมะซูรีในจังหวัดภูเก็ต ถ้ายังจำกันได้ในตอนนนั้นมีการประโคมข่าวใหญ่โตทั้งในมาเลเซียและในไทย ว่าทายาทรุ่นที่ 7 ได้ถูกเชิญตัวไปร่วมพิธีแก้คำสาปเธอผู้นี้คือ นางสาว ศิรินทรา ยายี หรือ เมย์ บุตรสาวของสุวรรณ ยายี ผู้พ่อซึ่งมีอาชีพรับจ้างขับรถในหาดป่าตอง และ
สุนี ยายี ผู้แม่ ซึ่งเป็นแม่บ้าน เธอมีน้องชายอีก 1 คน อายุ 14 ปี ปัจจุบัน ศิรินทรา ยายี มีอายุ 21 ปี (8 สิงหาคม 2528) และกำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 2
ของคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากที่ก่อนหน้านี้เธอเคยได้ทุนของเอกชนในมาเลเซีย ให้ศึกษาในมหาวิทยาลัยอิสลามนานาชาติ มาเลเซีย อยู่ 2 ปี แต่มีปัญหาเรื่องทุนที่เอกชนไม่ต่อทุนให้ตามสัญญา จึงต้องกลับมา เรียนต่อในไทย และตอนนี้ก็พักอาศัยอยู่ที่หอพักแห่งหนึ่ง แถวๆถนนรามคำแหง
เกาะลังกาวี สำหรับเธอ แม้ว่าจะไม่ใช่ประเทศบ้านเกิด แต่ก็เหมือนบ้านที่สองที่มีกลิ่นอายของตำนานพระนางมะซูรี อบอวนอยู่รอบตัวเธอเสมอทุกครั้งที่เดินทางมาที่นี่
ชาวลังกาวีและสื่อมวลชนมักให้ความสนใจและเข้ามาห้อมล้อมขอถ่ายรูป เรียกได้ว่าผู้คนที่นี่แทบไม่มีใครไม่รู้จักเธอ ศิรินทรา มีความใฝ่ฝันว่าอนาคตอยากทำงานด้านแอร์โฮสเตส
แม้ว่าที่ลังกาวีเธอจะเปรียบได้ดั่งเจ้าหญิงน้อยๆสำหรับ ชาวลังกาวีและชาวมาเลเซีย และเป็นเพียงหญิงสาวธรรมดาๆ
คนหนึ่งในเมืองไทย แต่ความที่ไทยเป็นแผ่นดินเกิดและเติบโต จึงชอบการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองไทยมากกว่า
ตำนานคำสาปแห่งเกาะลังกาวีตามความเชื่อของคนพื้นเมือง ได้คลี่คลายไปแล้วหลังการมาของเด็กหญิงศิรินทรา เมื่อเกือบ 10 ปีที่แล้ว และในช่วงเวลาไม่กี่ปีมานี้
|
|
ล่องเรือไปชม นกอินทรีย์ ณ คลองคิลิม
|
หน้าบ้านของอดีตบ้านพักของครอบครัวพระนางมัสสุหรี
|
บ้านของครอบครัวพระนางมัสสุหรี
|
จีโอปาร์ค แหล่งท่องเที่ยวใหม่ของ เกาะลังกาวี
|
นั่งอยู่บนเรือ มองไปเห็นป้าน คิลิมจีโอฟอร์เรร์ทปาร์ค
|
อีกรูป กับหน้าบ้านพระนางมัสสุหรี
|
|